Monday, July 13, 2015

ปริศนาอนัสตาเซีย♰ [ The Secret of romanov ]



ในปี ค.ศ. 1917 พรรคสังคมนิยมแห่งรัสเซียหรือที่เรียกกันว่า บอลเชวิค ได้หนุนให้เลนินขึ้นครองประเทศหลังจากปฏิวัติสำเร็จ เลนินจึงจัดการเอาพระเจ้าซาร์และบรมนุวงศาไปคุมขังไว้ ณ  พระราชวัง ฤดูร้อนซาร์โกเซโล แล้วโยกย้ายไปไว้ที่โตบอลสก์ ในไซบีเรีย ท้ายสุดก็นำมาขังไว้ ณ ปราสาทอิปาเทียฟ ในอีคาเตรินเบิร์ก แต่เลนินวางแผนจะให้มีการพิพากษาความผิดของราชวงศ์ แต่พอได้ข่าวว่ากองทหารที่ยังสวามิภักดิ์ต่อซาร์เตรียมบุกเข้ามาช่วยเลนิ นจึงเปลี่ยนใจ สั่งให้ประหารให้หมดและทำลายล้างมิให้เหลือซาก

เหตุการณ์สยดสยองคืนนั้นเป็นดังนี้


เที่ยงคืนวันที่ 16 กรกฎาคม 1918 เจ้าหญิงอนัสตาเซียถูกปลุกให้ตื่นบรรทม


"แต่งองค์เร็ว! เกิดยิงกันวุ่นวายข้างนอกลงไปเตรียมองค์รวมกันข้างล่างจะปลอดภัยกว่า!"


เจ้าหญิงรีบฉวยฉลองพระองค์มาสวม สร้อยพระศอไข่มุกล้ำค่าเกี่ยวติดชายกระโปรงมาด้วยทรงไม่สนใจกับเสื้อหนาว เพราะคืนนั้นอากาศร้อนอบอ้าว แม้ว่ากระดุมเสื้อหนาวตัวนั้นจะทำด้วยเพชรก็ตาม


ข้างล่างนั้นพระบิดาพระมารดาและคนอื่น ๆ พร้อมอยู่แล้ว โดยมีเหล่าเรดการ์ดยืนคุมอยู่ แสงตะเกียงดวงเดียวที่แขวนไว้ทำให้เกิดเงาทาบทับผนังห้องโถงใหญ่หลังคาโค้ง นั้น เสียงเครื่องยนต์รถบรรทุกคันหนึ่งดังแว่วมาจากด้านนอก


เจ้าหญิงและพระญาติรวมกลุ่มกันอยู่มุม หนึ่งของห้อง นับแต่พระเจ้าซาร์นิโคลาส ที่ 2 ผู้ประทับนั่งอยู่ตรงกลาง ผู้ที่นั่งถัดไปทางขวาของพระองค์ก็คือ อเล็กไซ โอรสผู้อ่อนแอจากการเบียดเบียนของโรคฮีโมฟีเลีย ดร.บ็อทกิน แพทย์ประจำราชวงศ์และเป็นพระสหายสนิทของซาร์ยืนถัดไป ผู้นั่งด้วยท่าทีหวาดหวั่นอยู่ข้างหน้าของทั้งสองก็คือเจ้าหญิงอเล็กซานดรา หลานย่าของควีนวิคตอเรียและมเหสีของซาร์ ส่วนพระราชะดาทั้งสี่ โอลก้า, ทาเทียนา,มาเรีย และอนัสตาเซีย ประทับยืนแวดล้อมพระมารดานอกนั้นก็มี เดมิโควา พี่เลี้ยง,มหาดเล็กรับใช้ และพ่อครัวยืนอยู่ทางด้านหลัง


และในทันใดนั้นเอง อย่างที่ไม่มีผู้ใดคาดฝันยูรอฟสกี้ ตำรวจลับบอลเชวิค ผู้โหดเหี้ยมก็ก้าวเข้ามาเขาร้องตวาดด้วยเสียงดังลั่นห้องโถงใหญ่


"นิโคไล อเล็กซานโดรวิช ลูกน้องของเจ้าก่อการกบฏ แต่มันก็ล้มเหลวไปแล้ว ตอนนี้ถึงคราวที่เจ้าจะต้องถูกประหาร!"


"อะไรกัน!" พระเจ้าซาร์ทรงอุทานตะลึงงัน


"นี่ไงล่ะ!" ยูรอฟสกี้กกรีวอลเวอร์ขึ้นส่องตรงไปยังซาร์ พระมเหสีและธิดาต่างยกหัตถ์กุมอุระ ตาเบิกโพลง ยูรอฟสกี้ลั่นไก พระเจ้าซาร์ฟุบสวรรคตลงกับที่ประทับ ลูกน้องของยูรอฟสกี้ซึ่งเป็นชนลัตเวียต่างก็ลั่นกระสุนเข้าใส่พระราชวงศ์ที่เหลือ เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายร่วงผล็อยลงกับพื้นราวกับใบไม้หล่นจากต้น ควันปืนยังไม่ทันจาง เหล่าผู้ปลงพระชนม์ก็กรูกันเข้ามาแกะทิ้งสมบัติติดกายกระศพ ไม่ว่าจะเป็นสร้อย แหวน กำไล นาฬิกา ฯลฯ ประหนึ่งเป็นรางวัลจากปฏิบัติการที่ได้กระทำไป จากนั้นก็รีบช่วยกันยกร่างของเหยื่อขึ้นเปลหามนำออกไปยังรถบรรทุกที่รออยู่ ด้วยความรีบร้อนจึงไม่มีผู้ใดตรวจสอบว่าร่างทั้งหลายนั้นตายสนิทแล้วหรือไม่ แม้แต่จำนวนศพก็มิได้นับ


จุดหมายปลายทางที่บรรทุกไร้ชีวิตเหล่านั้นไปก็คือเหมือนร้างในป่า ศพทั้งหมดถูกนำลงมากองกับพสุธา ยูรอฟสกี้สั่งให้เอากำมะถันกับน้ำมันทราดศพจนโชกแล้วแล้วจุดไฟเผา เมื่อรอจนไฟมอดแล้วจึงเอาเถ้าและซากที่เหลือทิ้งลงในหลุมลึก


และนี่ก็คือวาระสุดท้ายของราชวงศ์โรมานนอฟซึ่งปกครองรัสเซียมานานกว่า ๓๐๐ ปี

แต่ทว่าเรื่องนี้มิได้เงียบหายไปดั่งที่เหล่าฆาตกรประสงค์ ข่าวลือเริ่มแพร่สะพัดว่ามีศพหนึ่งหายไปและมีหลักฐานหลายอย่างระบุว่าเจ้า หญิงอนัสตาเซียได้หนีรอดไปได้จากการปลงพระชนม์หมู่ครั้งนี้ ทางการโซเวียตก็เต้นซีครับ ส่งตำรวจลับออกสืบสวนตามล่าจ้าละหวั่น ทั้งในทะเลบอลติด โรนาเนีย ไปจนกระทั่งไซบีเรีย ค้นกระจุยทั้งในอาคารที่พักอาศัยและโรงพยาบาลทุกแห่ง หมายจับถูกส่งไปทั่ว รวมทั้งผู้ที่ต้องสงสัยว่าให้ความช่วยเหลือราชวงศ์ด้วย ใครที่มีท่าพิรุธแม้นิดเดียวเป็นโดนยิงทิ้งทันที


ตามข่าวลือเท่านั้น ตำรวจลับสองนายที่หามร่างเหยื่อไปขึ้นรถบรรทุก ได้สังเกตเห็นว่าร่างของเจ้าหญิงอนัสตาเซียผู้ได้รับบาดเจ็บที่เศียรนั้นยัง มีลมหายใจรวยริน ทั้งคู่ได้แอบพาร่างบาดเจ็บนั้นเล็ดลอดอาศัยความมืดและความชุลมุนไปยัง กระท่อมหลังหนึ่ง ซึ่งห่างจากอิปาเทียฟ ๑๘๐ เมตร วางร่างเธอไว้ แล้วรีบกลับมาเข้ากลุ่มโดยไม่มีใครทันตระหนักรู้


แม้บอลเชวิคจะตามล่าสุดเหวี่ยง แต่ก็ไม่ได้ผลคืบหน้าแต่อย่างไร ข่าวนี้จึงค่อย ๆ เงียบหายเป็นคลื่นกระทบฝั่ง


กระทั่งเวลาผ่านไปราวสองปี หญิงผู้หนึ่งซึ่งมีชื่อในหนังสือเดินทางว่า แอนนา-ไชคอฟสกี้ โดดน้ำตายที่กรุงเบอร์ลินในวันหนึ่งของเดือนกุมภาพันธ์ 1920 ทว่ามีผู้ช่วยเธอเอาไว้ได้ หลังรอดตายหญิงผู้นี้ได้อ้างว่าที่แท้ตนเองนั้นก็คือเจ้าหญิงอนัสตาเซีย แห่งราชวงศ์โรมานอฟ ผู้รอดมาจากการประหารหมู่ครั้งนั้นนั่นเอง


ข่าวนี้ก่อความตื่นเต้นให้กลับคืนมาอีก บางคนก็เชื่อ แต่บางคนก็คิดว่าเธอโกหก เธอได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคืนนั้นดังนี้


หลังถูกยิง เธอจำได้คร่าวๆ ว่าถูกหามขึ้นเกวียนเส้นผมชุ่มไปด้วยโลหิต เธอยังไม่หายจากความหวาดผวาต่อการประหารหมู่ที่เห็นกับตา เสียงร้องโหยหวนของพ่อแม่พี่น้อง เมื่อกลับพื้นคืนสติอีกครั้งเธอก็พบว่าตนอยู่ในความดูแลของบุคคลแปลกหน้า 4 คน คนผู้หญิงวัย 40 กว่า ชื่อ มาเรีย เป็นมารดาของอีก 3 คน คือ อเล็กวานเดอร์, เซอร์ไก และ เวโรนิกา สกุลของพวกเขาคือ ไชคอฟสกี้ และเป็นเรดการ์ดของเมืองอีคาเตรินเบิร์ก


เธอนึกได้ลางเลือนว่าถูกนำตัวเดินทางไปไกล ผ่านป่าสนทึบ ผ่านไปบนถนนสายยาวอันเปล่าเปลี่ยวนานนับเดือน บางครั้งไข้ขึ้นสูง ศีรษะปวดรวดร้าวแผลที่แขนระบม รวมทั้งใบหน้าและปากด้วย บ่อยครั้งที่ถูกเอาลงจากเกวียนอันกระเทือนและใช้วิธีอุ้มแทนความรู้สึกของเธอเหมือนตายมากกว่าเป็น ยามเมื่อพายุหิมะกระหน่ำ เธอจะถูกห่อหุ้มร่างด้วยผ้าหนา ๆ และอาจต้องขอกระท่อมชาวนาพักชั่วคราว แม้จะหวาดผวาต่อการถูกติดตาม และการหลักหลังจากผู้ที่พวกเธอไปขอความช่วยเหลือ




ผู้ที่ได้พบเห็นการลี้ภัยระหกระเหินครั้งนี้มีอาทิ


ฮาสเซ็นสไตน์ นายทหารเยอรมันผู้เฝ้ารักษาการ์ณฝั่งแม่น้ำบัก เขาได้อนุญาตให้คณะลี้ภัยข้ามแม่น้ำไปได้


ซาชา เกรกกอเรียน ชาวอเมริกัน ผู้อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำดนีสเตรอะ บันทึกไว้ว่า "...ก่อนข้ามแม่น้ำจากฟากรัสเซียไปสู่โรมาเนีย (5 ธ.ค. 1918) ผมได้ยืนเคียงข้างกับเจ้าหญิงอนัสตาเซียแห่งโรมานอฟผู้รอดมาได้โดยความช่วย เหลือของเรดการ์ด..."


และเมื่อถึงแม่น้ำเรสินา คณะลี้ภัยก็ได้รับความช่วยเหลือจากอดีตองครักษ์ของซาร์ผู้หนึ่ง ซึ่งช่วยนำไปส่งจนถึงนครบุคาเรสท์ และที่นี่เองทุกคนจึงเริ่มปลอดภัยจากเงื้อมมือของพวกบอลเซวิค


เธอขายสร้อยไข่มุกเพื่อนำเงินมายังชีพ และแต่งงานกับอเล็กซานเดอร์ มีลูกด้วยหนึ่งคน แต่การแต่งงานนี้ทำให้สถานภาพของเธอเปลี่ยนแปลงไปเธออาจไม่เป็นที่ยอมรับจาก ราชวงศ์ต่าง ๆ ของยุโรปแต่เธอก็ตัดสินใจแล้ว


หากเคราะห์ของเธอกลับทรุดหนักลงอีก อเล็กซานเดอร์สามีถูกตำรวจลับบอลเชวิคลอบสังหารสิ้นชีพกลางถนน เซอร์ไกพาเธอระหกระเหินต่อไปยังนครเบอร์ลิน ลูกของเธอถูกนำไปฝากเลี้ยงยังสถานเด็กกำพร้า จากนั้นเซอร์ไกก็หายตัวไป เธอสิ้นหวังในชีวิตและโดดน้ำตาย


เรื่องของเธอเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ ผู้คนพากันมาซักไซ้ไต่ถาม เสาะหาความจริง จนในที่สุดเธอก็ทนไม่ได้จึงปิดปากสนิท ไม่ยอมตอบคำถามใด ๆ อีก ต่อไป หลายอาทิตย์หลังการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลอลิซาเบ็ธ เธอก็ถูกโยกย้ายไปอยู่โรงพยาบาลโรคจิตดอลล์ดอร์ฟ ที่นั่นเธอถูกระบุว่าเป็นบ้า! วันนั้นคือวันที่ 30 มีนาคม 1912


ชีวิตในโรงพยาบาลโรคจิตเป็นไปด้วยความขมขื่น แวดล้อมด้วยคนไข้ที่สติไม่สมบูรณ์ เธอนอนซมอยู่บนเตียงเกือบตลอดเวลา หันหน้าเข้าฝา


คลารา มาเรีย พุทเฮิร์ท อดีตแม่บ้านแห่งราชวังของซาร์เผอิญถูกส่งมารักษาตัวที่นี่ด้วย นางจำได้ทันทีว่าเธอคือธิดาองค์หนึ่งของซาร์ แต่จำผิดว่าเป็นทาเทียนา ถึงช่วงนี้ข่าวของเธอก็ไปถึงหูของบอลเชวิค ตำรวจลับเริ่มเข้ามากรุยกรายสืบข่าวเธอ


และแล้ว บารอนเนส อิซา บักซ์โฮฟเดน อดีตนางสนองพระโอษฐ์ซาร์ก็ถูกเจ้าหญิงไอรีน แห่งปรัสเซีย ป้าของอนัสตาเซีย ส่งตัวมาเยือนนางไชคอฟสกี้ เพื่อหาข้อเท็จจริง หากว่าบารอนเนสไม่สามารถจำเธอได้ นั่นเป็นเพราะเป็นความลำบากแสนสาหัสในเคราะห์กรรมได้เปลี่ยนโฉมเจ้าหญิงสาว สวยให้กลายเป็นหญิงที่แก่เกินอายุจริง 21 ปี ของเธอ ฟันหน้าทั้งแถบนั้นถูกกระสุนไรเฟิลกระจุยไม่เหลือ ทำให้แก้มของเธอตอบ การไม่ยอมรับของบารอนเนสครั้งนี้ทำให้เรื่องของเธอถูกลดความเชื่อถือไปอีกมาก


อยู่ที่โรงพยาบาลดอลล์ดอร์ฟสองปี เธอก็ออกมาพำนักอยู่กับบารอน ไคลส์ เจ้าหน้าที่คนหนึ่งของรัสเซีย หลังจากนั้น กรุนเบิร์ก ตำรวจเยอรมันผู้ถูกสั่งให้สืบสวนชีวิตของเธอ ก็ได้มาชวนให้เธอไปพักอยู่ด้วยกันกับเขาในคฤหาสน์ชนบท


มาถึงตอนนี้ ผู้ที่สนใจในเรื่องของนางไชคอฟสกี้ก็แบ่งออกเป็น 2 ค่าย ฝ่ายหนึ่งเชื่อ ฝ่ายหนึ่งไม่เชื่อแต่น่าประหลาดยิ่งที่เชื้อพระวงศ์แห่งรัสเซีย ซึ่งน่าจะสามารถพิสูจน์เธอได้อย่างง่ายดายกลับวางเฉย ปิดปากเงียบไม่เข้ากับฝ่ายใดเสียงงั้นแหละ


กรุนเบิร์กเองก็ไม่อาจยืนยันได้ เขาให้ความเห็นว่า


"สองปีในโรงพยาบาลบ้าได้ทำลายจิตใจของเธอจนหมดสิ้น ประกอบกับกระโหลกศีรษะ ซึ่งกระทบกระเทือนจากกระสุนไรเฟิล ทำให้สมองของเธอสับสน แต่เธอก็ยังยืนยันมั่นคงถึงความเป็นธิดาของซาร์ และสิ่งเดียวที่ยังอยู่ในความทรงจำของเธออย่างละเอียดไม่ผิดพลาด ก็คือเหตุการณ์สะเทือนขวัญในคืนประหารหมู่นั้น"


สุดท้ายป้าของเธอ เจ้าหญิงไอรีนก็เสด็จมาดูด้วยองค์เอง แต่ถึงยามนี้ หญิงผู้อ้างตนเป็นอนัสตาเซียก็ปราศจากความยินดียินร้ายในเรื่องใดๆ เสียแล้วเธอปฏิเสธที่จะสนทนาหรือรับความช่วยเหลือใด ๆ


ในส่วนของเจ้าหญิงไอรีน ได้ทรงให้ความเห็นว่า


"ผม หน้าผาก และตา เป็นของอนัสตาเซียแต่ปากและคางไม่ใช่ ฉันไม่อาจพูดได้เต็มปากว่าไม่ใช่เธอ


ก็แน่นอนอยู่แล้ว ในเมื่อปากและคางของเธอนั้นถูกกระสุนไรเฟิลทำลายป่นปี้ โอกาสของอนัสตาเซียหมดไปอีก และนับจากวันนั้นเจ้าหญิงไอรีนก็ปฏิเสธที่จะเอ่ยถึงเรื่องนี้โดยสิ้นเชิง


ถัดจาก นั้นไม่นานก็พบว่าเธอเป็นวัณโรคที่ทรวงอกและที่ข้อศอกซ้าย ซึ่งเป็นโรคประจำตระกูลของซาร์ ร่างกายของเธอก็เลยยิ่งโทรมลงไปอีกรวมทั้งจิตใจ


เชื้อพระวงศ์โรมานอฟผลัดกันมาเยือนเธอทีละ คนสองคน แต่เธอก็ไม่ยินดีต้อนรับเสียแล้ว ทุกคนไม่อาจยืนยันแน่ชัดลงไปได้ ข้อหนึ่งซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ให้สงสัยก็คือ เธอพูดอังกฤษไม่ได้ ในขณะที่ภาษาอังกฤษนั้นใช้พูดกันเป็นธรรมดาในวังซาร์ เธอไม่ยอมพูดหรือเขียนภาษารัสเซียด้วย ใช้แต่เยอรมันโต้ตอบแต่ตำรวจลับรัสเซียก็วางกับดักพิสูจน์ได้ง่าย ๆ โดยแกล้งพูดคุยกันเป็นภาษารัสเซีย และสังเกตทีท่าของเธอ เขาพบว่าเธอเข้าใจดีในทุกคำพูดนั้น!


รายละเอียดรูปลักษณ์ของเธอถูกรายงานไปให้ แกรนด์ยุค เออร์เนสต์ ลุงของเธอ ดังนี้


1. ตาปลาที่ นิ้วเท้าทั้งสองเท้า โดยเฉพาะเท้าขวา (อนัสตาเซียก็มี รูปพรรณตรงกัน)

2. แผลเป็น เล็ก ๆ สีขาวที่ไหล่ (อนัสตาเซียก็มีเช่นกัน)
3. รอยปูดที่ โคนนิ้วกลางมือซ้ายเกิดจากประตูรถหนีบ
4. แผลเป็น ที่ขมับขวา (อนัสตาเซียจะหวีเกษาปิดแผลเป็นขมับขวา เสมอ)
5. รอยแผล เป็นหลังใบหูขวาอันเนื่องมาจากกระสุนปืน

คำตอบจากท่านแกรนด์ยุคก็คือ ไม่น่าเชื่อว่าจะมีธิดาองค์ใดของซาร์เหลือรอด


การที่ท่านดยุคปฏิเสธนี้ อาจมีสาเหตุจากการที่แอนนาเคยอ้างว่าได้พบกับท่านดยุคในปี 1916 ซึ่งความจริงช่วงนั้นรัสเซียกับบาวาเรียกำลังทำสงครามกัน การเอ่ยอ้างของแอนนาทำให้ท่านดยุคถูกหาว่าลอบไปเจรจาลับกับศัตรู นั่นทำให้ท่านดยุคต้องมัวหมอง


กาลต่อมา แอนนาก็เริ่ม "จำ" ชีวิตวัยเด็กได้ทีละน้อย สิ่งสำคัญที่เธอบันทึกไว้ก็คือ


"ฉัน แกรนด์ดัชเชส อนัสตาเซีย นิโคลาเยฟนาธิดาองค์เล็กและองค์เดียวของซาร์นิโคลาสที่ 2 กับเจ้าหญิงอเล็กซานดรา แห่งรัสเซีย ผู้ล่วงลับไปแล้วขอประกาศว่า หลังจากราชวงศ์ของเราจากปีเตอร์สเบิร์กมาอยู่ไซบีเรีย และก่อนหน้าที่เสด็จพ่อและคนอื่น ๆ จะถูกปลงพระชนม์หมู่ เสด็จพ่อได้ตรัสว่าก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง พระองค์ได้ฝากเงินไว้ให้ธิดาทั้ง 3 องค์ เป็นเงินองค์ละ 5 ล้านรูเบิล ณ ธนาคารแห่งอังกฤษ"


แต่ธนาคารแห่งอังกฤษปฏิเสธในเรื่องนี้โดย สิ้นเชิง และต่อมา แอนนาก็ได้กล่าวแก้ข้อเขียนของเธอว่า จำชื่อธนาคารที่ถูกต้องไม่ได้ แต่เงินนั้นมีแน่ ๆ


หลัง ค.ศ.1920 แอนนาเดินทางไป อเมริกาหลายครั้ง และเปลี่ยนชื่อเป็นนางแอนนา แอนเดอร์สันและระหว่างที่อยู่อเมริการะยะหนึ่ง สมาชิก 12 องค์แห่งราชวงศ์โรมานอฟที่เหลืออยู่จากเชื้อพระวงศ์ซาร์ทั้งหมด 44 องค์ ก็ได้ร่วมกันลงชื่อประกาศในหน้าหนังสือพิมพ์ว่าไม่ยอมรับข้ออ้างของแอนนา ซึ่งก็แน่นอนอีกเช่นกัน ในเมื่อทั้ง 12 องค์นี้มีสิทธิในผลประโยชน์ของซาร์ในอังกฤษ และคงไม่ประสงค์ให้ใครมาแบ่งเอาไป


ในบั้นปลายแห่งชีวิต แอนนา แอนเดอร์สันได้เดินทางมาพำนักยังกระท่อมทหารเก่าที่แบล็คฟอเรสท์ ,เยอรมนี อยู่เงียบ ๆ ตามลำพังกับเพื่อนหนึ่งคน ในปี 1974 เธอจึงแต่งงานใหม่กับชาวอเมริกัน แล้วกลับไปพำนักอย่างถาวรในสหรัฐ


เรื่องราวของเธอนั้นโด่งดังไปทั่วโลก มีหนังสือเกี่ยวกับเธอพิมพ์ขายนับไม่ถ้วน ฮอลลีวู้ดเอาเรื่องของเธอไปทำหนัง นำแสดงโดย อินกริด เบิร์กแมน กับ ยูลบวินเนอร์ แม้กระทั่ง แพ็ต บูน ก็เคยร้องเพลง "อนัสตาเซีย" ซึ่งฟังหวานลึกลับและวังเวงใจ ดุ จ เ ดี ย ว กั บ ชี วิ ต ข อ ง เ ธ อ ...




Posted by Parn
ที่มา Postjung.com

No comments:

Post a Comment